กิจการลูกเสือโลกก่อกำเนิดโดย ลอร์ดเบเดน โพเอลล์
ชาวอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2550(อดีตเป็นนายพลทหารมาก่อน)
ดอก de-lis-fillsvg เป็นเครื่องหมายของลูกเสือโลก
การลูกเสือไทยเริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอยู่หัว นำกิจการลูกเสือมาเผยแพร่ในประเทศไทย
ครั้งแรกจัดตั้งเป็นกองเสือป่า พ.ศ. 2454
ในปีเดียวกันจึงนำมาฝึกลลูกเสือในโรงเรียนครั้งแรก
ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
หรือวชิราวุฑวทยาลัย
นายชัพพ์ บุนนาค เป็นลูกเสือคนแรก ที่สวมเครื่องแบบลูกเสือ
และเป็นผู้กล่าวคำปฎิญาณเป็นคนแรก
จึงได้รับโปรดพระราชทาน "ว่า ไอ้ชัพพ์ แกเป็นลูกเสือคนแรก "
หลังจากนั้นกิจการลูกเสือล้มลุก คลุก คลานมาเป็นระยะ
เพราะอยู่ใขช่วงสงครามโลกบ้าง การเปลี่ยนแปลงการปก
พอมาถึงรัชกาลของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถูมิพลอดุลยเดช
กิจการลูกเสือได้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ
นำกิจการลูกเสือ ขยายลงไปถึงลูกเสือ สำรอง คือเด็กชั้นประถมศึกษา ป. 3 - 4
ป.5 - 6 เป็นลูกเสือ สามัญ ม. 1-3 ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ระดับอาชีวะเป็นลูกเสือวสามัญ ขยายจนไปถึงชาวบ้าน เรียกว่าลูกเสือชาวบ้าน
กำเนิดลูกเสือชาวบ้าน | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() ![]() พ.ต.อ.สมควร หริกุล พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จึงได้ศึกษาและสังเกตการณ์ฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านแล้วพิจารณาเห็นว่า การฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านมีประโยชน์และสร้างสรรค์ความสามัคคีกลมเกลียวให้บังเกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการ พ่อค้า นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป สามารถขจัดช่องว่างและเส้นขนานระหว่างข้าราชการกับประชาชนได้เป็นอย่างดียิ่ง ตรงกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความสามัคคีธรรมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนชาวไทย จึงนำเรื่องราวการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านโดยละเอียดขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรกิจกรรมลูกเสือชาวบ้านที่ค่ายเสนีย์รณยุทธ กองกำกับการตำรวจตระเวนชานแดนเขต 4 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระราชหฤทัย จึงได้พระราชทานเงิน 100,000 บาท เป็นทุนทรัพย์จัดหาผ้าผูกคอลูกเสือชาวบ้าน ห่วงรัดผ้าผูกคอ และหน้าเสือ และทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ตั้งแต่นั้นเป็นมา |
บทความโดย ครูเซฟ ลำพูน นายกสโมสรลูกเสือหริภุญชัย จ. ลำพูน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น